บายศรี
ความหมายของบายศรี
บายศรี
เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย
ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ
ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์
คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ
คำว่า “ บายศรี ” แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน)
บายศรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็น สิริ ,ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย
ในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย “บา” ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึงผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก
คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ
คำว่า “ บายศรี ” แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน)
บายศรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็น สิริ ,ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย
ในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย “บา” ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึงผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก
ประวัติความเป็นมาของพิธีบายศรีสู่ขวัญ
กล่าวกันว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญมาพร้อมกับพราหมณ์ทมิฬชานอินเดียที่อพยพมาสู่สุวรรณภูมิ
หนังสือเก่าที่พบซึ่งออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองกล่าวไว้ว่า บายเป็นภาษาเขมรแปลว่าข้าว
ข้าวอันเป็นสิริมงคล ข้าวขวัญ
กล่าวคือข้าวที่หุงปรุงรสโอชาอย่างดีเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องสังเวยให้เทวดาโปรด
พิธีใดเป็นพิธีเทวดาโดยตรง หรือต้องการที่จะอัญเชิญเทวดามาเป็นประธาน
ต้องหาของสังเวยที่ดีและมีสีสะดุดตา
ชาวทมิฬจึงมีเคล็ดลับความเชื่อในข้าวที่ย้อมสีตามสีประจำองค์เทวดา
รวมถึงใช้สีล่อเทวดาฝ่ายร้ายให้ไปรวมต่างหากไม่ให้มาทำอัปมงคลให้โทษแก่มณฑลพิธีและบุคคล
ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยกับทมิฬได้มีความเป็นมาอย่างเดียวกัน
เนื่องจากได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่าง ๆแก่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบวงสรวงเทวดา
มีขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย ข้าวย้อมสี เช่นข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวแดง
ก็นำมาใช้ในพิธีไทยอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ภาชนะบายศรีตองเป็นกระทงที่สำหรับบรรจุอาหาร
ภายหลังเอาพานซ้อนกันขึ้นไปแล้วเอาของตั้งบนปากพาน
เมื่อมีการถ่ายทอดมาที่ประเทศไทย ซึ่งมีศิลปศาสตร์ที่เจริญขึ้น
กระทงใบตองก็ถูกประดิดประดอยให้สวยงามเป็นกระทงเจิม
ซึ่งประดับประดาตกแต่งที่ปากกระทงให้มีความงดงามมีกระจัง มียอดแหลมตามศิลปะแบบไทย
ๆ
พิธีบายศรีสู่ขวัญหรือหลายท้องถิ่นในภาคอีสานจะเรียกว่าสู่ขวัญหรือสูดขวัญ ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อกันว่าคนที่เกิดมามีขวัญประจำกายมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษา ขวัญเป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่คอยดูแลประคับประคองชีวิต คอยเลี้ยงดู และติดตามไปทุกหนทุกแห่ง เป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายจิตหรือวิญญาณแฝงอยู่ในตัวคนและสัตว์ ซึ่งขวัญตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในร่างกายเรามี 2 สิ่งรวมกัน คือร่างกายและจิตใจหรือขวัญ
ขวัญ คือความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัว ผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าขวัญของผู้ใดหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้าม
คนไทยจึงเชื่อว่าพิธีสู่ขวัญเป็นพิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้เข้มแข็ง เมื่อมีขวัญที่มั่นคง พลังใจที่เข้มแข็งดีแล้ว ย่อมส่งผลให้การประกอบภารกิจหน้าที่นั้น ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย ซึ่งให้กำลังใจกันเมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเสริมให้มีความสุขยิ่ง ๆขึ้นไปเมื่อมีความสุขความพอใจอยู่แล้วก็สามารถทำได้ การทำพิธีสู่ขวัญอาจทำได้ทั้งพิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
พิธีบายศรีสู่ขวัญหรือหลายท้องถิ่นในภาคอีสานจะเรียกว่าสู่ขวัญหรือสูดขวัญ ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อกันว่าคนที่เกิดมามีขวัญประจำกายมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษา ขวัญเป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่คอยดูแลประคับประคองชีวิต คอยเลี้ยงดู และติดตามไปทุกหนทุกแห่ง เป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายจิตหรือวิญญาณแฝงอยู่ในตัวคนและสัตว์ ซึ่งขวัญตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในร่างกายเรามี 2 สิ่งรวมกัน คือร่างกายและจิตใจหรือขวัญ
ขวัญ คือความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัว ผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าขวัญของผู้ใดหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้าม
คนไทยจึงเชื่อว่าพิธีสู่ขวัญเป็นพิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้เข้มแข็ง เมื่อมีขวัญที่มั่นคง พลังใจที่เข้มแข็งดีแล้ว ย่อมส่งผลให้การประกอบภารกิจหน้าที่นั้น ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย ซึ่งให้กำลังใจกันเมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเสริมให้มีความสุขยิ่ง ๆขึ้นไปเมื่อมีความสุขความพอใจอยู่แล้วก็สามารถทำได้ การทำพิธีสู่ขวัญอาจทำได้ทั้งพิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า
"ใบสี",
"ใบสรี" หรือ "ใบสีนมแมว"
และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า
สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
1.บายศรีหลวง
2.บายศรีนมแมว
3.บายศรีปากชาม
4.บายศรีกล้วย
ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า
"พาบายศรี",
"พาขวัญ" หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า "ขันบายศรี"
ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.พาขวัญ
2.พาบายศรี
3.หมากเบ็ง
ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า
"บายแสร็ย" ซึ่งแบ่งออกเป็น 3
ประเภท คือ
1.บายแสร็ยเดิม
(บายศรีต้น)
2.บายแสร็ยเถียะ
(บายศรีถาด)
3.บายแสร็ตจาน
(บายศรีปากชาม)
บายศรีชนิดต่างๆ
(พานบายศรีที่พบเห็นในปัจจุบัน)
1. บายศรีสู่ขวัญภาคเหนือ บายศรีชั้นเดียวขนาดใหญ่
จัดประดิษฐ์ในขันน้ำพานรอง ใช้ในพิธีสู่ขวัญของชาวภาคเหนือประกอบด้วย ตัวบายศรี 6 ตัว
และดอกไม้ใบไม้มงคลสีสันสดใส
2. บายศรีสู่ขวัญภาคอีสาน บายศรีขนาดใหญ่ จัดประดิษฐ์ใส่ในภาชนะขนาดใหญ่เช่นโตกโดยซ้อนเรียงกัน 3
ชั้น ใช้ในพิธีสู่ขวัญของชาวอิสานประกอบด้วย ตัวบายศรีชั้นละ 6
ตัว แต่ละชั้นจะลดหลั่นกันพองาม ชั้นบนมีพุ่มยอดบายศรี
3. บายศรีตอ บายศรีชั้นเดียว
ใช้ในงานพิธีบวงสรวง สังเวยบูชาครูช่างแขนงต่างๆ ประกอบด้วย
หยวกกล้วยสำหรับทำบายศรี ตัวบายศรี แมงดา เข็มขัด กรวยข้าว ไข่ต้ม และกล้วยน้ำว้า
4.บายศรีปากชาม บายศรีขนาดเล็ก
ใช้ในงานพิธีบวงสรวง สังเวย
และอาจใช้ตั้งเป็นส่วนประกอบบนชั้นยอดของบายศรีใหญ่ประกอบด้วยตัวแมงดา กรวยใส่ข้าว
กล้วยน้ำว้าผ่าสามเส้าและไข่ต้มบนยอดกรวยบวงสรวง
5. บายศรีสู่ขวัญบางกอกบายศรีขนาดใหญ่ จัดประดิษฐ์ในภาชนะรูปพานซ้อนกัน 5 ชั้นใช้ในพิธีสู่ขวัญ สมโภชของชาวภาคกลาง ประกอบด้วยตัวบายศรีชั้นละ 5 ตัว แต่ละชั้นลดหลั่นกันมีพุ่มกรวยยอดบายศรี ตกแต่งด้วยดอกดาวเรือง บางทีเรียกว่าบายศรีดาวเรือง
7. บายศรีเทพบายศรีชั้นเดียวขนาดใหญ่ทรงพุ่ม ใช้ในพระราชพิธีต่างๆและพิธีของราษฎร
สำหรับเป็นเครื่องบวงสรวง สังเวยบูชาเทวาอารักษ์
ซึ่งประกอบไปด้วยตัวบายศรีเป็นทรงพุ่มและดอกไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล
8. บายศรีสู่ขวัญกำแพงเพชรบายศรีขนาดใหญ่ จัดประดิษฐ์ในภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใช้ในพิธีสู่ขวัญ สมโภช และบูชา พระบรมธาตุ ประกอบด้วยตัวบายศรี และกำแพงแก้วทุกชั้น ดอกไม้ใบไม้มงคล
10.บายศรีต้น 5 ชั้นใช้ในพิธีต่าง ๆ สำหรับเจ้านายที่ทรงกรมหรือเสนาบดีบายศรีต้นนี้เป็นบายศรีที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บายศรีตอง-รองทองขาว ซึ่งแต่ละชั้นของบายศรีจะบรรจุด้วยขนมหวานหรือดอกไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล
11. บายศรีต้น 7 ชั้นใช้สำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บายศรีต้นกลีบหน้านาคแต่ละชั้นจะประดับด้วยดอกบัวใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูป
12.บายศรีต้น 9 ชั้นใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในพิธีหรือพระราชพิธีที่เป็นมงคลต่างๆ ในภาพเป็นบายศรีกลีบบัวหลวง ตกแต่งด้วยอุบะ ดอกจำปาฐานเป็นฟักทองแกะสลัก
ตัวอย่างบายศรี
อ้างอิง ::https://th.wikipedia.org/wiki
http://kanchanapisek.or.th
https://www.pantown.com
อ้างอิงภาพ :: พุทธการ ก้อนทอง
http://kanchanapisek.or.th
https://www.pantown.com
อ้างอิงภาพ :: พุทธการ ก้อนทอง